คุณรู้จักกับอสังหาริมทรัพย์มากน้อยแค่ไหน?

Real Estate

ว่ากันด้วยเรื่องอสังหาริมทรัพย์

หลาย ๆ คนอาจรู้จักกับความหมายของอสังหาริมทรัพย์แล้ว แต่ก็อาจยังมีอีกหลายคนไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ว่าอสังหาริมทรัพย์มีอะไรบ้าง และมีกี่ประเภท หรือบางคนก็รู้แล้วแต่ก็ไม่ได้รู้ลึก รู้เท่าที่ควร เพราะฉะนั้นในวันนี้เราพูดถึงเรื่องอสังหาริมทรัพย์กันดีกว่า

มาทำความรู้จักกับอสังหาริมทรัพย์กัน

อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ เลยที่อยู่รอบตัวเราที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายของสิ่งนั้นได้หรือถ้าย้ายได้ก็เป็นอะไรที่ลำบากมาก ๆ อย่างเช่น บ้าน ที่ดิน อาคาร สำนักงาน โรงงานอุตสหกรรม ไม้ยืนต้น ทุกสิ่งเลยที่ติดอยู่กับที่ดินแล้วเราไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้  อย่างที่ประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 ได้กล่าวความหมายไว้ว่า เป็นที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และยังหมายรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นส่วนเดียวกับที่ดินนั้นด้วย และแบ่งออกเป็น ได้แก่

ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์

แน่นอนว่าที่ดินก็คือที่ดิน ความหมายตรงตามแบบทำเรารู้จักกันแหละ แต่นอกจากที่เราเข้าใจโดยทั่ว ๆ ไปกันแล้วถ้าดูกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1335 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ‘ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น แดนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพ้นพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย

สำหรับที่ดินที่สามารถเป็นเจ้าของได้นั้น’ มีอยู่ 2 แบบ คือ

แบบเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เลย โดยสิ่งที่ต้องมีเลยเพื่อแสดงออหารเป็นเข้าของกรรมสิทธิ์ คือ เอกสารสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของเลย เช่น โฉนดที่ดิน, โฉนดแผนที่, ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว เป็นต้น

ที่ดินที่เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง เช่น น.ส.3, น.ส. 3ก. เป็นต้น

ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร

หมายถึงสิ่งที่ติดอยู่กับที่ดินโดยสภาพมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น บ้าน โรงแรม โรงงาน หรือะเป็นไม้ยืนต้น (มะม่วง, มะพร้าว, ต้นไผ่ เป็นต้น) ก็ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ติดอยู่กับที่ดินแบบถาวร ไม้ยืนต้นก็มักจะอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ส่วนที่มีอายุน้อยกว่านั้นจะถือว่าเป็นไม้ล้มลุกและไม่จัดอยู่ในหมวดอสังหาริมทรัพย์ทันที หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นการถาวรติดอยู่กับที่ดินนั้น เช่น โรงเรือน, รั้ว, กำแพง เป็นต้น ดังนั้นทรัพย์อื่นๆ ที่ไม่ได้ติดถาวรอยู่กับที่ดินจะไม่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์อีกด้วยเช่นกัน

ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกันกับที่ดินนั้น เช่น กรวด หิน ดิน ทราย น้ำ แร่ธาตุต่าง ๆ ถึงจะเป็นทรัพย์ตามชาติแต่ถ้าเกิดขึ้นอยู่ในบริเวณที่ดินนั้นก็จะจัดเป็นอสังหาริมทรัพย์

ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ กรรมสิทธิ์, สิทธิครอบครอง, ภาระจำยอม, สิทธิอาศัย, สิทธิเหนือพื้นดิน, สิทธิเก็บกิน, ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะแบ่งตามลักษณะการใช้สอยออกเป็น 5 กลุ่มหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย

  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการเกษตร เช่น ที่นา ไร่ สวน หรือที่ดินที่จัดให้เป็นพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะ
  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ แฟลต อพาร์ตเมนต์ ที่เอาไว้ใช้อยู่อาศัย เป็นต้น
  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เช่น สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ตลาดสด ศูนย์ประชุม อาคารพาณิชย์ เป็นต้น
  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม
  • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพักผ่อน เช่น รีสอร์ต โรงแรมตากอากาศ เป็นต้น

แบบนี้นี่เอง

แบบนี้ก็ได้รู้จักกับความหมายของอสังหาริมทรัพย์กันไปแล้วและประเภทของอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เหมือนจะเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ใกล้ตัวเรามากๆ และตอนนี้เราก็กำลังอาศัยอยู่อสังหาริมทรัพย์ด้วย ถ้าอย่างนั้นใครที่ยังไม่รู้ลึกถึงความหมายของอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องศึกษามาทำความรู้จักผ่านบทความนี้กัน

Mark Hudson

Learn More →